udonpit99.com
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect

4 posters

Go down

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect

ตั้งหัวข้อ by takumi.9 Thu Feb 26, 2009 3:55 am

สืบเนื่องจากโดน พาษพิง ว่าเมากัญชา จากคำพูดที่ว่า "เด็ดดอกไม้ กระเทือนถึงดวงดาว"
เลยจัดให้ว่าเมากัญชาจิง หนึ่งบ่องใหญ่ๆ

สำหรับคนทั่วไป เป็นการสื่อความหมายว่า เรื่องเล็กๆ
เช่นการที่ผีเสื้อกระพือปีกสามารถก่อให้เกิดเรื่องใหญ่ๆที่ไม่คาดคิดในระยะ
ทางไกลๆได้ (เข้าทำนอง “เด็ดดอกไม้กระเทือนถึงดวงดาว”)


มัน
เป็นปรากฏการณ์เรียกกันว่า "Butterfly Effect" หรือ "ปรากฏการณ์ผีเสื้อ" ที่ชอบพูดกันคือ "เด็ดดอกไม้ กระเทือนถึงดวงดาว"

คำกล่าวหรือปรากฏการณ์นี้ เป็นเรื่องของทฤษฎีที่เรียกว่า Chaos Theory (ภาษาไทยยังไม่มีศัพท์บัญญัติ) แต่มีที่เรียกกันคือ ทฤษฎีไร้ระเบียบ หรือ ทฤษฎีแห่งความยุ่งเหยิง ทฤษฎีสับสนอลหม่าน,หรือนักวิชาการบางท่านก็ไปเขียนไว้ว่าเป็นทฤษฎีความโกลาหล ทว่า ที่ใช้กันมากที่สุด คือ การเรียกทับศัพท์เป็น ทฤษฎีเคออส


ทฤษฎีเคออส
เป็นทฤษฎีที่
เกี่ยวกับระบบต่าง ๆ หรือ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติ ที่เผิน ๆ
ดูเหมือนจะไม่มีความเป็นระเบียบเลย มีแต่ความยุ่งเหยิง ทว่า
ในความยุ่งเหยิงนั้น ตามทฤษฎีเคออส จริง ๆ แล้ว
ก็มีความเป็นระเบียบที่ปรากฏซ้อนกันอยู่
มีกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ควบคุมอยู่ เช่น ปรากฏการณ์เกี่ยวกับสภาพลมฟ้าอากาศ

ตามทฤษฎีเคออส ปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะเป็นตัวกำหนดสภาพความเป็นไปของปรากฏการณ์ หรือระบบคือ Initial Condition (เงื่อนไขเริ่มต้น หรือจุดเริ่มต้น) การเริ่มต้นที่แตกต่างกัน จะทำให้เกิดผลที่แตกต่างกันมาก

อธิบายด้วยภาพจำลองการเคลื่อนไหวของ ปรากฏการณ์เคออส จากปัญหาสามวัตถุ จากภาพเส้นที่ต่างกันสามเส้นแทนการเคลื่อนไหวของวัตถุสามชิ้น ซึ่งดูเหมือนไม่เป็นระเบียบ ทฤษฎีความอลวน (chaos theory) เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึง ลักษณะพฤติกรรมของระบบพลวัต (คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น เปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป) โดยลักษณะการเปลี่ยนแปลงของระบบที่เรียกว่าเคออสนี้ จะมีลักษณะที่ปั่นป่วนจนดูคล้ายว่า การเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นแบบสุ่มหรือไร้ระเบียบ (random/stochastic) แต่จริง ๆ แล้ว ระบบเคออสนี้เป็นระบบแบบไม่สุ่ม หรือระบบที่มีระเบียบ (deterministic)ใน
ทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ คำจำกัดความของระบบเคออส คือระบบแบบไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinear system) ประเภทหนึ่ง ที่มีความไวต่อสภาวะเริ่มต้น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ถ้าระบบ 2 ระบบนั้นเริ่มต้นจากสภาวะที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย
คือเกือบจะเหมือนกันทุกประการ


แก้ไขล่าสุดโดย takumi.9 เมื่อ Thu Feb 26, 2009 5:17 am, ทั้งหมด 10 ครั้ง
takumi.9
takumi.9
มหา'ลัย ปี3
มหา'ลัย ปี3

จำนวนข้อความ : 1603
: 40
Registration date : 14/09/2008

สมุดพกนักเรียน
รหัสประจำตัว: 990917
วิชาโปรด: คอมพิวเตอร์
คะแนนเกียรติยศ:
ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Left_bar_bleue21/100ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty_bar_bleue  (21/100)

http://takumishin.hi5.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty Re: ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect

ตั้งหัวข้อ by takumi.9 Thu Feb 26, 2009 4:17 am

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect 277357121_b79e0a440d_m

(จากควันที่ลอยขึ้นมาตอนแรก หากโดนอากาศที่แปรปรวนแม้เพียงนิด ก้อจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลในช่วงหลัง)

เมื่อระบบได้มีการเปลี่ยนไปซักระยะหนึ่ง สภาวะของระบบทั้งสองที่เราสังเกตได้เมื่อเวลาผ่านไปจะแตกต่างกันอย่างสังเกต
เห็นได้ชัด ในสภาพ Chaos, สภาพสับสนอลหม่าน, สภาพไร้ระเบียบ คือไร้เสถียรภาพ (unstable) ที่มีความอ่อนไหวสูงยิ่ง หรือมีความเปราะบาง เมื่อมีการกระทบเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่เป็นเส้นตรง แต่เป็นทางที่คดเคี้ยว กวัดแกว่ง และบางครั้งก้าวกระโดด (sporadic)เกิดตรงจุดนั้นบ้าง จุดนี้บ้าง ทำให้ยากที่จะทำนายผลลัพธ์ได้ เพราะมีสิ่งอื่น ๆ ที่มาเป็นองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง ในตอนหนึ่งของการอธิบายทฤษฎีไร้ระเบียบได้พูดถึงผลกระทบของ Butterfly Effect

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect 277357157_9ee39dc3cf_m
(สมการของ Edward ที่ใช้ค่าเริ่มต้นจากตรงกลางในการทดลองครั้งที่ 2)

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect 277357198_f3cc4a90dc_o
(กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดสะเทินที่ทำให้ค่าเปลี่ยนไป)

สำหรับคำกล่าว "เด็ดดอกไม้ กระเทือนถึงดวงดาว" แสดงถึงความกี่ยวพันของระบบที่ประกอบด้วย ทั้งดอกไม้บนโลก และดวงดาวในอวกาศ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้น ณ จุดหนึ่ง จะมีผลต่อระบบทั้งระบบเสมอ

อีกคำกล่าวหนึ่งที่ชัดเจนกว่า และมีการกล่าวถึงผีเสื้อโดยตรง ซึ่งแสดงถึงหัวใจสำคัญของทฤษฏีเคออส และ "Butterfly Effect" คือ "ผีเสื้อกระพือปีกที่ปักกิ่งวันนี้ มีผลทำให้เกิด ทอร์นาโด ที่ฟลอริดา สหรัฐอเมริกาปีหน้า" ซึ่งเน้นความสำคัญของ Initial Condition คือ การกระพือปีกของผีเสื้อที่ปักกิ่งวันนี้ ผู้ค้นคิดทฤษฎีเคออส มีนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องหลายคน แต่ผู้ที่กล่าวถึงเรื่องของ เคออสอย่างค่อนข้างชัดเจนคนแรก คือ นักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ จูลส์ เฮนรี พอนคาเร (Jules Henry Poincare) เมื่อประมาณต้นศตวรรษที่ยี่สิบ ทว่า ทฤษฎีเคออส เพิ่งจะได้รับความสนใจอย่างจริงจังเมื่อศตวรรษที่ 70 เพราะความก้าวหน้าที่ชัดเจนขึ้นของทฤษฎีเคออส และที่สำคัญ
นักวิทยาศาสตร์มีคอมพิวเตอร์มาช่วยทำให้ทฤษฎีเคออส ก้าวออกจากการเป็นเพียงทฤษฎีอย่างเป็นนามธรรม มาสู่การแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม และการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อย่างจริงจัง


แก้ไขล่าสุดโดย takumi.9 เมื่อ Thu Feb 26, 2009 5:26 am, ทั้งหมด 5 ครั้ง
takumi.9
takumi.9
มหา'ลัย ปี3
มหา'ลัย ปี3

จำนวนข้อความ : 1603
: 40
Registration date : 14/09/2008

สมุดพกนักเรียน
รหัสประจำตัว: 990917
วิชาโปรด: คอมพิวเตอร์
คะแนนเกียรติยศ:
ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Left_bar_bleue21/100ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty_bar_bleue  (21/100)

http://takumishin.hi5.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty Re: ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect

ตั้งหัวข้อ by takumi.9 Thu Feb 26, 2009 4:19 am

Chaos Theory(เคอ็อส)ที่กำลังเป็นกระแสใหม่ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นแนวความคิดที่พัฒนาจากขบวนการสังเกตของนักวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ประยุกต์ที่ชื่อ เอียน โพซิเบิล ของมหาวิทยาลัยลอนดอน
ได้เขียนหนังสือชื่อ Chaos a science for the real world ( a science :ความรู้ , for the real world :ในโลกแห่งความเป็นจริง )

โดยอธิบายไว้ว่า
ทฤษฎีแห่งความไร้ระเบียบหรือ chaos theory เปรียบกับแม่น้ำสายใหญ่เกิดจากสายน้ำหลายสายไหลมาบรรจบกัน ฉะนั้นแหล่งที่มาของทฤษฎีไร้ระเบียบมาจากทุกสาขาวิชา ในสภาพ Chaos, สภาพสับสนอลหม่าน, สภาพไร้ระเบียบ คือไร้เสถียรภาพ (unstable) มีความอ่อนไหวสูงยิ่ง หรือมีความเปราะบาง เมื่อมีการกระทบเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่เป็นเส้นตรง แต่เป็นทางที่คดเคี้ยว กวัดแกว่ง และบางครั้งก้าวกระโดด เกิดตรงจุดนั้นบ้าง จุดนี้บ้าง… ทำให้ยากที่จะทำนายผลลัพธ์ได้ เพราะมีสิ่งอื่น ๆ ที่มาเป็นองค์ประกอบหลาย ๆ ประการ ที่ส่งผลต่อระบบใหญ่

ซึ่งแนวความคิดอันนี้ก็ไปกระทบกับแนวความคิดดั้งเดิม ที่คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องแน่นอน (1 1=2)ทำให้ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีกระแสใหม่ ซึ่งในตอนหนึ่งของการอธิบายทฤษฎีไร้ระเบียบได้พูดถึงผลกระทบของ Butterfly Effect ซึ่ง ศาสตราจารย์ เอ็ดเวิร์ด เลอลอง นักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ได้รับเครดิตในเรื่องทฤษฎีเคอ็อส จากผลการทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ.2506 และในปี พ.ศ.2515 เขาได้พูดในสมาคมAdvancement of Science ของอเมริกา ที่ Washington, D.C
โดยใช้หัวข้อว่า การกระพือปีกของผีเสื้อในประเทศบราซิลก่อให้เกิดพายุทอนาโดในรัฐเท็กซัสได้ หรือไม่ นับตั้งแต่นั้นมาคำว่า ปรากฏการณ์ผีเสื้อ (Butterfly Effect) ก็เริ่มแพร่หลายและนำไปใช้อย่างกว้างขวาง

สำหรับนักวิชาการ จะหมายถึงสมการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ของศาสตราจารย์ เอ็ดเวิร์ด เลอลอง ที่แสดงผลเป็นกราฟรูปผีเสื้อ (ที่มา : wikipedia.com)


ทางด้าน อุตุนิยมวิทยา


ในด้านทฤษฎีอุตุนิยมวิทยา ผีเสื้อตัวหนึ่งกระพือปีกที่ฮ่องกง สามารถที่จะทำให้ดินฟ้าอากาศที่แคลิฟอร์เนียเปลี่ยนแปลงได้เมื่อ 1 เดือนให้หลัง นี่คือกระบวนการที่เรียกว่า Butterfly Effect (หนังสือที่ศาสตราจารย์เลอลองเขียนได้พูดถึงศาสตราจารย์เลอลองเคยได้รับเชิญ ให้นำเสนอ Lecture ทางวิชาการ 3 ชุด ที่ University of Washington (Seattle) ภายใต้การสนับสนุนของคหบดีที่อุดหนุนด้านการศึกษามนุษยชาติ (Jessy Dance) ในการนำเสนอศาสตราจารย์ซึ่งเป็นนักอุตุนิยมวิทยามากว่า 30 ปี ได้เฝ้าวิจัยแนวความคิดด้านอุตุนิยมวิทยา ท่านบอกว่าท่านค้นพบโดยบังเอิญ จากกระบวนการที่ท่านนั่งเฝ้าตัวเลขที่ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไปเป็น .0000001 ของทศนิยม ท่านนั่งเฝ้าเข็มรายงานความเคลื่อนไหวของอากาศ


แก้ไขล่าสุดโดย takumi.9 เมื่อ Thu Feb 26, 2009 4:39 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง
takumi.9
takumi.9
มหา'ลัย ปี3
มหา'ลัย ปี3

จำนวนข้อความ : 1603
: 40
Registration date : 14/09/2008

สมุดพกนักเรียน
รหัสประจำตัว: 990917
วิชาโปรด: คอมพิวเตอร์
คะแนนเกียรติยศ:
ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Left_bar_bleue21/100ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty_bar_bleue  (21/100)

http://takumishin.hi5.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty Re: ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect

ตั้งหัวข้อ by takumi.9 Thu Feb 26, 2009 4:21 am

ทุกครั้งที่เกิดการสั่งสะเทือนของระบบการรับข่าวสาร เกี่ยวกับสภาวะอากาศ และเฝ้าสังเกตดูจุดทศนิยมที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละจุด ๆ เมื่อเกิดความคลาดเคลื่อนไปแล้วจะทำให้เกิดรูปร่างที่เมือนกับโครงสร้างของ ผีเสื้อ ท่านพบว่า .0000001 ที่คลาดเคลื่อนไปก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมหาศาล การเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลในภาวะแวดล้อมของอุตุนิยมวิทยาไม่ใช่เกิดขึ้นจาก สาเหตุใหญ่ ๆ หากแต่เกิดขึ้นจากสัญญาณเล็ก ๆ เป็นจุด ๆ ท่านจึงอธิบายว่าถ้ามันเป็นเช่นนี้จริงก็หมายความว่า " แม้กระทั่งผีเสื้อตัวเล็ก ๆ กระพือปีกเบา ๆ อยู่ที่ซึกโลกหนึ่งก็ส่งผลต่อระบบนิเวศวิทยาของอีกซีกโลกหนึ่งก็อาจจะเป็นได้ " ภาพ Butterfly Effect ทำให้เกิดกระแสความแตกตื่นขึ้นในกลุ่ม IT และกลุ่มนักวิทยาศาสตร์โลก ก็มีการพูดถึงเรื่องนี้

เรามักจะได้ยินคำพูด ที่เป็นที่นิยมพูดกันอย่างกว้างขวางที่ว่า "เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว" หรือ "ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ" (จาก "butterfly effect") ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อยที่ตีความในลักษณะของขนาดความรุนแรงของผลลัพธ์เท่านั้น ระบบเคออสนั้นไม่จำเป็นจะต้องแตกต่างกันในแง่ของ ขนาด ของผลลัพธ์เสมอไป แต่อาจแตกต่างกันในแง่ของ พฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงก็ได้ จากตัวอย่างข้างบน การเปลี่ยนแปลงของระบบทั้งสองนั้นจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมากในขณะเริ่ม ต้น เมื่อเวลาผ่านไป การเปลี่ยนแปลงนั้นแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีอะไรที่เหมือนกันเลย


Chaos จะเกิดผลกระทบต่อโลกอย่างไร? จะเกิด Global Effect อย่างไรต่อไป ? ตัวอย่างเช่นปรากฏการณ์เอลนินโญ่ เกิดจากการที่กระแสน้ำอุ่นเปลี่ยนทิศทาง จากที่เคยไหลเรียบฝั่งแอฟริกาอยู่ดีๆ ก็ข้ามฝากมาอเมริกาใต้สู่มหาสมุทรแปซิฟิก ผลส่วนหนึ่งคือทำให้เกิดไฟไหม้ป่าที่เกาะสุมาตรา จากป่าที่เป็นเคยสมบูรณ์ที่สุดในแถบเอเชีย ซึ่งการที่กระแสน้ำอุ่นเปลี่ยนทิศทางนั้นเป็นผลมาจากการสะสมความเปลี่ยนแปลงทีละเล็ก ละน้อย

แต่ความเป็นจริงมีสัญญาณเตือนภัยที่ส่อเค้ามาก่อนแล้ว เช่น หิมะละลาย แผ่นดินถล่ม แต่ก็ไม่มีคนสนใจ การเกิดโรคซาร์ในประเทศจีน ทำให้เกิดการล้มตายอย่างเฉียบพลัน การเกิดไข้หวัดนกที่อาจมีสัญญานบอกเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และการก้าวข้ามสายพันธ์ของไวรัสที่อาจจะไม่ใช่เป็นไปตามลำดับขั้นตามทฤษฎี ที่เคยเป็น แต่อาจมีการข้าม กระโดด เปลี่ยนแปลงอย่างชนิดตามไม่ทันก็ได้ ซึ่งปรากฎการณ์แบบ Butterfly effect แค่หิมะจากแอนตาร์กติกลอยออกมาเป็นก้อน ๆ ปลารูปร่างหน้าตาประหลาดมาเกยตื้นที่หากสะหมิหรา ก็สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลต่อโลกมนุษย์แล้ว การก่อให้เกิดภาวะ Chaos หรือความซับซ้อนของตัวเองในสิ่งนั้น ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้


แก้ไขล่าสุดโดย takumi.9 เมื่อ Thu Feb 26, 2009 5:24 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง
takumi.9
takumi.9
มหา'ลัย ปี3
มหา'ลัย ปี3

จำนวนข้อความ : 1603
: 40
Registration date : 14/09/2008

สมุดพกนักเรียน
รหัสประจำตัว: 990917
วิชาโปรด: คอมพิวเตอร์
คะแนนเกียรติยศ:
ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Left_bar_bleue21/100ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty_bar_bleue  (21/100)

http://takumishin.hi5.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty Re: ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect

ตั้งหัวข้อ by takumi.9 Thu Feb 26, 2009 4:21 am

เมื่อมีปัจจัยที่ซับซ้อนเข้ามากระทบกระเทือนต่อความ ซับซ้อน ในระบบที่ซับซ้อนของตนเอง เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดความคลาดเคลื่อนแม้แต่ .0000001% ความคลาดเคลื่อนนี้เมื่อมันก่อตัวขึ้นมาแล้ว จะเกิดความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมาก เมื่อเกิดภาวะที่เป็นไปอย่างไร้ระเบียบ ก็จะเกิดพลวัตรในระดับการโต้ตอบ, สะท้อนกลับขึ้นมา เป็นภาวะที่แตกแยก, เริ่มแยกออกไปอย่างไร้ทิศทาง จะมีสองมุมประกอบกัน มุมหนึ่งคือ มุมของการโต้ตอบ เรียกว่า Feedback กับอีกมุมหนึ่งคือการเกิดซ้ำหรือ
reiteration ซึ่งอาจมีผลกระทบทางลบหรือบวกก็ได้ อาจก่อให้เกิดสภาพเร่งเร้า ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งความเร่งเร้าที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ในระดับที่สามารถจะควบคุมได้ และสภาวะแห่งความไร้ระเบียบนี้ ไม่ใช่เป็นความอลหม่าน จะซุกซ่อนความเป็นระบบอยู่ในความไร้ระเบียบของตัวมันเอง และส่งผลกระทบถึงกัน ซึ่งระบบที่แสดงความไร้ระเบียบจะมีลักษณะ คือ


แก้ไขล่าสุดโดย takumi.9 เมื่อ Thu Feb 26, 2009 4:42 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
takumi.9
takumi.9
มหา'ลัย ปี3
มหา'ลัย ปี3

จำนวนข้อความ : 1603
: 40
Registration date : 14/09/2008

สมุดพกนักเรียน
รหัสประจำตัว: 990917
วิชาโปรด: คอมพิวเตอร์
คะแนนเกียรติยศ:
ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Left_bar_bleue21/100ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty_bar_bleue  (21/100)

http://takumishin.hi5.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty Re: ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect

ตั้งหัวข้อ by takumi.9 Thu Feb 26, 2009 4:21 am

1. มีคุณสมบัติแบบไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinearly) คือผลลัพธ์ทั้งหมดของระบบ ไม่เท่ากับ ผลรวมของผลลัพธ์ที่เกิดจากส่วนย่อย ๆ รวมกัน
2. ไม่ใช่การเกิดแบบสุ่ม เหตุการณ์ทั้งหลายจึงเกิดขึ้นภายใต้กฎเกณฑ์อันแน่นอน
3. มีความไวต่อสภาวะเริ่มต้น (sensitive dependency on initial conditions) ที่เรียกว่าปรากฎการณ์แบบ butterfly effect : ซึ่งในบางครั้งการขยายความแตกต่างให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะขยายไปถึง เลขยกกำลัง 3 (exponential) ของเวลา
4. ไม่สามารถทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดล่วงหน้าได้ระยะยาว เพราะเราไม่รู้ว่าจะมีเหตุ(ปัจจัย)ใดที่กระทบ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เปรียบดังมีผีเสื้อหลายตัว “ไม่รู้ว่าตัวไหนจะกระพือปีก”


เครดิต
เคดิต กระทู้คุยกับชัยวัฒน์

ชัยวัฒน์ ถีระพันธ์. 2537. ทฤษฎีความไร้ระเบียบ ทางแพร่งของสังคมสยาม. กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์ภูมิปัญญา.

ยุค ศรีอาริยะ. 2537. โลกาภิวัตน์ 2000 ว่าด้วยประวัติศาสตร์ทางเวลาทางสังคมศาสตร์ ในโลกาภิวัตน์ 2000. กรุงเทพฯ : บริษัทไอโอนิค อินเตอร์เทรด รีซอสเซส.

โหลดไปอ่านได้นะ
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. 2549. ที่มา http://www.info.tdri.or.th/reports/unpublished/chaos-theory.pdf



แก้ไขล่าสุดโดย takumi.9 เมื่อ Thu Feb 26, 2009 4:53 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
takumi.9
takumi.9
มหา'ลัย ปี3
มหา'ลัย ปี3

จำนวนข้อความ : 1603
: 40
Registration date : 14/09/2008

สมุดพกนักเรียน
รหัสประจำตัว: 990917
วิชาโปรด: คอมพิวเตอร์
คะแนนเกียรติยศ:
ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Left_bar_bleue21/100ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty_bar_bleue  (21/100)

http://takumishin.hi5.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty Re: ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect

ตั้งหัวข้อ by takumi.9 Thu Feb 26, 2009 4:47 am

สิ่งเล็กๆ ที่ดูเหมือนไร้ความหมาย แต่สิ่งนั้นกำลังส่งผลกระทบอยู่ humming

ถ้ายัง งงๆ ไปหาหนังเรื่อง Butterfly Effect มาดูได้ หนังสนุก โอเค ใช้ได้ สามรถเข้าใจ ทฤษฏิ นี้ได้ในระดับนึง
และอีกเรื่อง A Sound of Thunder (เรื่องนี้ดูแล้วจะป่วงๆ หน่อย ไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่)

แต่แนะนำ Butterfly Effect ไปดูเองแล้วจะติดใจ
ทั้งสองเรื่องจะมีเรื่อง เกี่ยวกับ การย้อนเวลา มาเกี่ยวข้องด้วย
เรื่อง ทฤษฏี ย้อนเวลา เดี๋ยวหามาฝากอีกที
takumi.9
takumi.9
มหา'ลัย ปี3
มหา'ลัย ปี3

จำนวนข้อความ : 1603
: 40
Registration date : 14/09/2008

สมุดพกนักเรียน
รหัสประจำตัว: 990917
วิชาโปรด: คอมพิวเตอร์
คะแนนเกียรติยศ:
ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Left_bar_bleue21/100ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty_bar_bleue  (21/100)

http://takumishin.hi5.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty Re: ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect

ตั้งหัวข้อ by toe.4 Thu Feb 26, 2009 9:39 am

ฮ่าๆ สาระเกิ๊น

Butterfly Effect ยังไม่เคยดู แต่ A Sound of Thunder ดูแล้ว

A Sound of Thunder มันก็ไม่ได้ไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่หรอกนะ การที่มีบางสิ่งบางอย่างเปลี่ยนไปในอดีต ก็ย่อมต้องส่งผลต่อปัจจุบันอยู่แล้ว เพียงแต่มันจะเป็นเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ แล้วเราเจอหรือไม่เจอเท่านั้นเอง

จริงๆ โดราเอมอนก็มีตอนนึงเหมือนกัน ที่โดราเอมอนพาโนบิตะกลับไปในอดีต แล้วฆ่าแมลงสาปตาย ทำให้ปัจจุบันแมลงสาปครองโลกแทน (หรืออะไรซักอย่างจำไม่ได้)

"เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว"...
มิน่าล่ะ ถึงเคยได้ยินคนพูดว่า "อย่าเด็ดดอกไม้" ฮ่าๆ
toe.4
toe.4
ม.5
ม.5

จำนวนข้อความ : 380
Registration date : 01/10/2008

สมุดพกนักเรียน
รหัสประจำตัว: 990428
วิชาโปรด: วิทยาศาสตร์
คะแนนเกียรติยศ:
ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Left_bar_bleue1/100ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty_bar_bleue  (1/100)

ขึ้นไปข้างบน Go down

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty Re: ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect

ตั้งหัวข้อ by nook.9 Thu Feb 26, 2009 10:50 am

งั้นก็ต้องนิ่งๆไว้ drums
เนสนิ่งๆดิวะ กวนถึงกุนะเนี่ย undecided
nook.9
nook.9
จบมัธยม
จบมัธยม

จำนวนข้อความ : 848
: 41
Registration date : 07/10/2008

สมุดพกนักเรียน
รหัสประจำตัว: 990927
วิชาโปรด: คณิตศาสตร์
คะแนนเกียรติยศ:
ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Left_bar_bleue1/100ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty_bar_bleue  (1/100)

ขึ้นไปข้างบน Go down

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty Re: ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect

ตั้งหัวข้อ by takumi.9 Thu Feb 26, 2009 3:40 pm

ชิชะ มึงอะดิ กวนถึงกูอะ
takumi.9
takumi.9
มหา'ลัย ปี3
มหา'ลัย ปี3

จำนวนข้อความ : 1603
: 40
Registration date : 14/09/2008

สมุดพกนักเรียน
รหัสประจำตัว: 990917
วิชาโปรด: คอมพิวเตอร์
คะแนนเกียรติยศ:
ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Left_bar_bleue21/100ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty_bar_bleue  (21/100)

http://takumishin.hi5.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty Re: ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect

ตั้งหัวข้อ by Sucha.3 Thu Feb 26, 2009 8:58 pm

เรื่องนี้เหมือนมีคนพูดกันบ่อย บ้างก็บอกว่ามันเป็นอย่างข้างต้น บ้างก็บอกว่าคนฟังบรรยายจับความและตีความผิด

เพราะจริงๆ แล้ว คำว่า
butterfly คือ ผลของการทดลอง ซึ่งมีรูปเป็นผีเสื้อ

“The Lorenz attractor is a 3-dimensional structure corresponding to the
long-term behavior of a chaotic flow, noted for its butterfly shape.
The map shows how the state of a dynamical system (the three variables
of a three-dimensional system) evolves over time in a complex,
non-repeating pattern. Picture below is a plot of the Lorenz attractor for values r = 28, σ = 10, b = 8/3.”ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect 600px-Lorenz_system_r28_s10_b2-6666

Thus, the butterfly effect, which is described by the solution
shape in the above figures, has morphed into a symbol that small
perturbations can alter large-scale structure.


However, scientists such as Ray Pierrehumbert and Gavin Schmidt at
Real Climate have literally interpreted Professor Lorenz’s seminal as
applying to all perturbations of atmospheric flow regardless of their
magnitude and spatial scale. This clearly was not the claim of
Professor Lorenz.

ย่อหน้าสุดท้ายอธิบายได้ดีมาก
In the real world, very small perturbations, such as the
flap of a butterfly wing cannot have any impact on the large-scale flow
(such as the creation of a tornado). In order to do that, the
turbulence generated by the flapping wings must retain some coherant
flow structure as the nonlinear interactions create larger scale
structure. However, this kinetic energy is dispersed over progressively
larger and larger volumes such that it will quickly dissipate into heat
as the magnitude of the disturbance to the flow at any single
location becomes smaller. The atmosphere has an infinitesimal addition
of heat, but the coherent information needed to alter the large-scale
flow is lost.

จาก:
http://climatesci.org/2008/04/29/the-real-butterfly-effect/
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก: http://en.wikipedia.org/wiki/Chaos_theory

มีความเห็นยังไงก็มาช่วยกันวิเคราะห์ได้ครับ Smile
Sucha.3
Sucha.3
ม.5
ม.5

จำนวนข้อความ : 356
: 41
Registration date : 13/09/2008

สมุดพกนักเรียน
รหัสประจำตัว: 990338
วิชาโปรด: คณิตศาสตร์
คะแนนเกียรติยศ:
ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Left_bar_bleue1/100ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty_bar_bleue  (1/100)

http://suchaxplore.blogspot.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty Re: ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect

ตั้งหัวข้อ by takumi.9 Thu Feb 26, 2009 9:43 pm

ใช่นั้นคือการเปรียบเทียบ ที่ว่าแค่ผีเสื้อขยับปีก ก็ทำให้เกิดพายุขึ้นได้ในอีกที่ เพราะจากการวิจัยที่ได้กล่าวไป เพียงแค่ตัวเลขที่สังเกตุการมีการคลาดเคลื่อนไป .0000001 ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมหาศาล แต่คิดว่าความหมายโดยรวม คงไม่ผิดมากนัก ก็อย่างที่ มนุษย์ เราไม่เคยสน ใจในสิ่งที่ตัวเองกระทำ ต่อโลก เท่าไหร่ จะรู้สึกตัว ก็ต่อเมื่อผลกระทบนั้นมาถึงตัวแล้ว อย่างที่เห็นกันชัดๆ เลย คือ ภาวะโลกร้อน สิ่งเล็กๆ ที่ว่า คือ แค่ การใช้ยาฉีดผม หรือ สารอะไรต่างๆ ที่เราคิดว่าก็ไม่เห็นมีอะไร มันจะทำให้ดลกร้อนตรงไหนนิ แต่มันกลับส่งผลกระทบ อย่างที่เห็น ว่าโลกกำลังร้อน ขึ้น และส่วนใหญ่ ก็มาจากน้ำมือของ มนุษย์ทั้งนั้น
ถ้าเคยดูเรื่อง A Sound of Thunder แล้งคงจะเข้าใจ ในเรื่องที่มีคนที่ไปทัวร์คนนึง ได้เหยีบ ผีเสื้อตายไป และส่งผลกระทบอย่างไรบ้างในเวลาต่อมา เนื่องจากมันได้ไปกระทบถึงห่วงโซ่อาหาร ซึ่งก็กินเวลาไปหลายร้อย หลายพันล้านปี หรือมากกว่านั้น
และสิ่งที่มนุษย์เราทำไปทุกวันนี้ละ มันก็เริ่มส่งผลมาให้เห็น แล้ว
ไม่ว่าจะเป็น เรื่องภัยธรรมชาติ ต่างที่เกิดบ่อยขึ้น และมันก็จะรุนแรงขึ้นเรื่อย ถ้าเรายังไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลงมัน
takumi.9
takumi.9
มหา'ลัย ปี3
มหา'ลัย ปี3

จำนวนข้อความ : 1603
: 40
Registration date : 14/09/2008

สมุดพกนักเรียน
รหัสประจำตัว: 990917
วิชาโปรด: คอมพิวเตอร์
คะแนนเกียรติยศ:
ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Left_bar_bleue21/100ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty_bar_bleue  (21/100)

http://takumishin.hi5.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty Re: ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect

ตั้งหัวข้อ by takumi.9 Thu Feb 26, 2009 10:20 pm

toe.4 พิมพ์ว่า:ฮ่าๆ สาระเกิ๊น

Butterfly Effect ยังไม่เคยดู แต่ A Sound of Thunder ดูแล้ว

A Sound of Thunder มันก็ไม่ได้ไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่หรอกนะ การที่มีบางสิ่งบางอย่างเปลี่ยนไปในอดีต ก็ย่อมต้องส่งผลต่อปัจจุบันอยู่แล้ว เพียงแต่มันจะเป็นเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ แล้วเราเจอหรือไม่เจอเท่านั้นเอง

จริงๆ โดราเอมอนก็มีตอนนึงเหมือนกัน ที่โดราเอมอนพาโนบิตะกลับไปในอดีต แล้วฆ่าแมลงสาปตาย ทำให้ปัจจุบันแมลงสาปครองโลกแทน (หรืออะไรซักอย่างจำไม่ได้)
ใช่แต่สุดท้ายแล้วโลกก็เป็นเหมือนเดิม นั้นก็คือ ไม่ว่ายังไง อดีตมันก็ต้องเกิดขึ้นตามนั้น
สิ่งที่เราคิดจะพยายามไปแก้ สิ่งนั้นเองอาจะทำให้เกิดปัจจุบันก็ได้
ยกตัวอย่าง ของ โดราเอม่อน ตอนนึง ที่ไปเจอรูปถ่ายใบนึง (บ้านใครไม่รู้จำไม่ได้) ซึ่งเป็นสมัยก่อนที่ยังไม่มีกล้องถ่ายภาพเลย แต่ดันไปมีภายถ่ายของ พวกโดราเอม่อน กับคนในยุคนั้นอยู่
พวดโราเอม่อนสงสัย จึงนั่งแทมแมชชีนย้อนเวลาไปยังยุคนั้น เพื่อหาว่ากล้องถ่ายภาพมาได้ไงใครถ่าย และก็ผจนภัยไปเรื่อยเปื่อยตามภาษาโดราเอม่อนและพวก สุดท้ายแล้ว เป็นพวกโดราเอม่อน เองนี้หละที่ถ่ายรูปใบนั้นไว้เอง

"เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว"...
มิน่าล่ะ ถึงเคยได้ยินคนพูดว่า "อย่าเด็ดดอกไม้" ฮ่าๆ

(ให้ตัดตรงที่ว่าสามารถย้อนเวลาได้หรือเปล่าออก แต่คิดว่าในอนาคตมันน่าจะย้อนได้ไม่ว่าจะอีกี่ ร้อยหรือพัน หรือหมื่น ปีก็เหอะ)
เรื่อง การย้อนเวลานั้น เท่าทีจำได้ มีอยู่ 2 ทฤษฏี


1. โลกเดียวกัน : อดิต ปัจจุบัน และอนาคตเชื่อมโยงเป็นโลกเดียวกัน
การกระทำใดๆก็ตามในช่วงเวลาหนึ่ง จะส่งผลต่อช่วงเวลาอื่นๆ
เรื่องที่ใช้หลักการนี้ได้แก่ เจาะเวลาหาจิ๋นซี โดเรม่อน
โดยส่วนใหญ่หนังที่ยึดหลักนี้มักจะแต่งให้ คนที่ย้อนเวลาไป
ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรสุดท้ายผลลงเอยมันก็จะเหมือนเดิม


2. โลกคู่ขนาน : แยกเป็นคนละโลก เหมือนกับมีมิติที่ซอนทับกันอยู่
เดินคู่กันไป โดยทุกๆการเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดมิติใหม่แตกแขนงออกไป
การกระทำใดๆ บนมิตินี้จะไม่ส่งผลเกียวข้องกับมิติอื่นๆ
เรื่องที่ใช้หลักนี้ได้แก้ dragon ball ที่ ทรั้งซ์ย้อนเวลามา
เพื่อมาหาโกคู แม้จะช่วยโกคูในเรื่องไม่ตาย
แต่เมื่อกลับไปยังโลกของตัวเอง โกคูที่ตายไปแล้ว ก็ตายไปแล้วอยู่ดี
ไม่มีอะไรเปลี่ยน


สรุปแล้ว ก็คือ ไม่ว่าเราจะไปเปลี่ยนแปลง หรือพยายาม ทำอะไรกับอดีต ก็ตาม ปัจจุบมันก็จะยังคงเดิมไม่เปลี่ยนไป ในโลกเดิม
takumi.9
takumi.9
มหา'ลัย ปี3
มหา'ลัย ปี3

จำนวนข้อความ : 1603
: 40
Registration date : 14/09/2008

สมุดพกนักเรียน
รหัสประจำตัว: 990917
วิชาโปรด: คอมพิวเตอร์
คะแนนเกียรติยศ:
ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Left_bar_bleue21/100ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty_bar_bleue  (21/100)

http://takumishin.hi5.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty Re: ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect

ตั้งหัวข้อ by Sucha.3 Thu Feb 26, 2009 10:22 pm

takumi.9 พิมพ์ว่า:
1. มีคุณสมบัติแบบไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinearly) คือผลลัพธ์ทั้งหมดของระบบ ไม่เท่ากับ ผลรวมของผลลัพธ์ที่เกิดจากส่วนย่อย ๆ รวมกัน
2. ไม่ใช่การเกิดแบบสุ่ม เหตุการณ์ทั้งหลายจึงเกิดขึ้นภายใต้กฎเกณฑ์อันแน่นอน
3. มีความไวต่อสภาวะเริ่มต้น (sensitive dependency on initial conditions) ที่เรียกว่าปรากฎการณ์แบบ butterfly effect : ซึ่งในบางครั้งการขยายความแตกต่างให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะขยายไปถึง เลขยกกำลัง 3 (exponential) ของเวลา

ถ้าคล่าวๆ ตัวทฤษฏีน่าจะครอบคุมข้างต้นทั้งสามข้อ
In mathematics, chaos theory describes the behavior of certain dynamical systems
– that is, systems whose states evolve with time – that may exhibit
dynamics that are highly sensitive to initial conditions (popularly
referred to as the butterfly effect).
As a result of this sensitivity, which manifests itself as an
exponential growth of perturbations in the initial conditions, the
behavior of chaotic systems appears to be random. This happens even though these systems are deterministic,
meaning that their future dynamics are fully defined by their initial
conditions, with no random elements involved. This behavior is known as
deterministic chaos, or simply chaos.
จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Chaos_theory

ส่วนเรื่อง ผมรวมแบบสะสมไปเรื่อยๆ จนเป็นเหตุการใหญ่ เราไม่แน่ใจว่าตัวทฤษฏีได้พูดถึงรึเปล่า เพราะก็ยังไม่ได้ศึกษาเชิงลึก
Sucha.3
Sucha.3
ม.5
ม.5

จำนวนข้อความ : 356
: 41
Registration date : 13/09/2008

สมุดพกนักเรียน
รหัสประจำตัว: 990338
วิชาโปรด: คณิตศาสตร์
คะแนนเกียรติยศ:
ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Left_bar_bleue1/100ว่าด้วยเรื่องทฤษฏี Chaos Theory หรือปรากฏการ Butterfly Effect Empty_bar_bleue  (1/100)

http://suchaxplore.blogspot.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ